top of page

วัดเจดีย์หลวง

พระเจดีย์หลวงปรากฎชื่อเรียกในสมัยแรกว่า "กู่หลวง" ตั้งอยู่ภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติของวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
นับเป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ โดยมีเนื้อที่ ทั้งหมด 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา 1 วัดอยู่ในเขตเมืองโบราณตำแหน่งกลางเชียงใหม่ เดิมชื่อ วัดโชติอารามวิหาร จากหลักฐานเอกสารต่างๆ มีการกล่าวถึงการ สร้างพระเจดีย์หลวงค่อนข้างสมบูรณ์ โดยกล่าวสอดคล้องกันว่า เริ่มต้นสร้างในรัชสมัยพระเจ้าแสน เมืองมา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอุทิศแด่พระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้ากือนา แต่การสร้าง ไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ พระนางเจ้าติโลกจุทาราชเทวีพระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา เป็นผู้สร้างต่อมาจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1954 ใช้เวลาในการก่อสร้างถึง 5ปีจึงแล้วเสร็จ ต่อมาถึงเดือนสิบ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พ.ศ. 1954 พระนางเจ้าตีโลกจุฑาราชเทวีได้ทรงกระทำพิธีปกยอดเจดีย์ด้วยทองค*าหนัก 8,902 เสี้ยวคำ กับดวงแก้วรัตนมณีสามดวงประดับไว้บนยอดพระเจดีย์นั้นแรกสร้างเป็นพระเจดีย์องค์เล็กๆ มีจระนำประดิษฐาน พระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน นาคปั้นเต็มตัวและหัวรวม 5 หัวรูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตั้งอยู่ตรงสี่แจ่ง (มุม) ทั้ง 4 มหาเจดีย์หลวงนั้น ปรากฎแก่ตาคนทั้งหลายอันอยู่ทั้ง 4 ทิศ 8ทิศ ที่ไกลและใกล้ 5 พันวา 6 พันวา ก็มองเห็นอย่าง ชัดเจน
ราวปี พ.ศ. 1985-2030 พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตขุดทำรากฐานเจดีย์ใหมให้ มั่นคงกว่าเดิมพร้อมทั้งเปลี่ยนยอดให้มีกระพุ่มเป็นยอดเดียว ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ รวมทั้งประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ อัญเชิญมาจากลำปางไว้ที่จระนำด้านทิศตะวันออกด้วย2 ต่อมาในรัชกาลพระเจ้ายอดเชียงราย ได้ปิด ทองจระนำทั้งสี่ และในพ.ศ. 2054 สมัยพระเมืองแก้วได้หุ้มองค์เจดีย์ด้วยทองจังโก3 จากนั้นไม่มี หลักฐานที่กล่าวถึงการบูรณะองค์เจดีย์หลวงอีก จนราว พ.ศ. 2088 ในรัชกาลพระนางจิรประภาเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้ยอดเจดีย์หลวงหักพังลง เจดีย์หลวงมีร่องรอยของการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย



ลักษณะโดยทั่วไปทางด้าน สถาปัตยกรรมในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่ก่อสร้างใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชมีการประดับช้างรอบฐานนับได้ 28 ตัว ส่วนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ที่ตรงกลางทั้งสี่ด้านทำเป็นมุขยื่น มี ลวดลายปูนปั้นประดับที่ส่วนมุขและซุ้มจระนำเหนือเรือนธาตุขึ้นปาเป็นชั้นบัวคว่า"หรือบัวถลาลดหลั่น 3 ชั้น และยกเก็จตามลักษณะเรือนธาตุ เหนือชั้นบัวถลาเป็นฐานแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่น 3 ชั้น ซึ่งน่าจะเป็นชั้นรองรับองค์ระฆังซึ่งพังทลายไปหมดแล้ว
จุลศักราช 289 (พ.ศ. 1874) พญาแสนภูโปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพญากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็สวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ
ในรัชสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้วและอัญเชิญพระ แก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ด "เนินการเพียงเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซ่อมทองจังโกและปิดทององค์พระเจดีย์
ในปี พ.ศ. 2055 พระเมืองแก้ว พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำ จำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517กิโลกรัม ประมาณ พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภามหาเทวี ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ.2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง
สภาพของพระเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ ก่อนการดำเนินการขุดค้นศึกษาเพื่อเตรียมการ บูรณะเมื่อปี พ.ศ.2529 โดยกรมศิลปากรนั้น พบว่าพระเจดีย์หลวงอยู่ในสภาพที่พังทลาย ส่วนยอด คงเหลือให้เห็นเพียงส่วนฐานขึ้นไปจรดองค์ระฆังในด้านเหนือ ส่วนด้านใต้พังทลายตั้งแต่ส่วนยอดลง มาจรดเรือนธาตุ จากลักษณะดังกล่าวทำให้พระเจดีย์หลวงตั้งแต่เรือนธาตุขึ้นไปถึงองค์ระฆังเหลือ หลักฐานเพียงซีกเดียว คือ ด้านทิศเหนือ ซึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้พบหลักฐานที่น่าสนใจเป็นอันมาก ดังนี้ บันไดทำเป็นมกรคายนาคที่ชูตั้งขึ้นสูง ตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย อยู่บนพื้นระดับเดียวกับฐานชั้นแรก บันไดนี้ทอดยาวตั้งแต่พื้นขึ้นไปสู่ระเบียงหน้าซุ้มเรือนธาตุทั้ง 4 ด้าน เป็นที่น่า สังเกตว่า บันไดทุกด้านก่ออิฐ ฉาบปูนเรียบ ไม่มีชั้นบันได แสดงให้เห็นว่าเจาะจงมิให้ใช้ประโยชน์เป็น บันไดทางขึ้น จะมีร่องรอยของขั้นบันไดทางขึ้นไปสู่ระเบียงชั้นบนได้เพียงด้านเดียว คือ ด้านทิศ ตะวันออกเท่านั้น ราวบันไดทำด้วยศิลาแลงพอกปูนภายนอก ระหว่างบันไดกับตัวนาค ทำเป็นช่องพื้น ฉาบปูนลาดเอียงขนานลงมากับบันได น่าจะทำว้สำหรับเป็นทางระบายน้ำจากพื้นระเบียงด้านบนและเพื่อป้องกันรักษาลายปูนปั้นที่ทeเป็นมกรคายนาค หลักฐานที่สำคัญอีกอย่างที่พบบริเวณบันได ด้านทิศตะวันออก คือ มีการก่อเรียงอิฐซ้อนกันยาวตลอดทับแนวขั้นบันได และส่วนของบัวคว่ำที่ฐาน บัวคว่ำ-บัวหงาย ความสูงได้ปิดทับชั้นบันไดไว้เกือบ 2 ขั้น หลังจากขุดแนวอิฐที่ไม่เป็นระเบียบออก พบว่าแนวอิฐตั้งอยู่พื้นเดียวกับบันได จากลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีการก่อสร้างซ้อนกันไม่ต่ำ ส่วนฐาน พบร่องรอยของการก่ออิฐเสริมฐานพระเจดีย์หลวงชั้นแรกถึง 3 ครั้งด้วยกันโดยสองครั้งแรกนั้นมีลักษณะสูงไม่เท่ากับฐานชั้นแรก จึงน่าจะมีลักษณะเป็นชั้นลดลงมาจากฐานชั้น แรก ต่อมาครั้งที่สามจึงได้ที่ให้สูงขึ้นเท่ากับฐานชั้นแรกจากลักษณะดังกล่าวน่าจะแสดงให้เห็นว่า การสร้างเสริมฐานชั้นแรกนั้นมิได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงฐานเดิม เนื่องจากสภาพ ของฐานยังดีอยู่ และการสร้างดังกล่าวมิได้มีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักองค์เจดีย์ที่ใหญ่โตขนาด นั้นได้ จุดประสงค์ของการสร้างนั้นน่าจะเป็นเพื่อปรับปรุงพื้นที่รอบบริเวณองค์
เจดีย์ให้มีความ เหมาะสม โดยการเก็บเศษปูนเศษอิฐที่กองทับถมอยู่มากหลังจากเจดีย์พังลงมาเรื่อยๆ มาปรับเป็น ฐานเจดีย์ดังกล่าวช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ่ผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคลุมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมาพระเจดีย์หลวงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535 แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ "โชติการามวิหาร " แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีชายผู้หนึ่งอายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็น
อารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายจึงเอาข้าวของมาบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้า และก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการะบูชานอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า "โชติการาม" คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฎจะปรากฎแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกลต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดเจดีย์หลวง"เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า "ใหญ่" หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Project Gallery

bottom of page