top of page

วัดไหล่หินหลวง

วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม (ไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) เป็นวัดเก่าแก่อายุหลายร้อยปีของจังหวัดลำปาง

ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่เศษ สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.218 ความสำคัญของคือเป็นสถานที่เก็บคัมภีร์โบราณ ปัจจุบันคัมภีร์บางส่วนหนึ่งได้ชำรุดไป ส่วนอันที่สภาพดีก็ถูกเก็บรักษาไว้ในโรงธรรมของวัด ซึ่งคัมภีร์โบราณเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าวัดนี้ในสมัยก่อนเป็นแหล่งศึกษาพระธรรม ซึ่งมีอายุเก่ากว่า 700 ปีเศษ เป็นภาษาบาลีบ้าง ตัวอักษรล้านนา ซึ่งจารึกไว้เมื่อปี จ.ศ.601 (พ.ศ.1 782 ชื่อคัมภีร์สกาวกณณี มี 7 ผูก 364 หน้า)

ตำนานวัดไหล่หินหลวง
มีการกล่าวถึง พระมหาป่าเกสร ปัญโญ (ครูบาศีลธรรมเจ้า) ผู้ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่ถือธุดงควัตรเป็นหลักในการสืบทอดพุทธศาสนา จากหนังสือประวัติวัดได้กล่าวไว้ว่า "ท่านพระมหาเกสรปัญโญเป็นพระนักปฏิบัตินักศึกษาศาสนธรรมคำสั่งสอนอันยืนยง มีความรู้แตกฉานสามารถเขียนและแต่งธรรมได้วันละมากๆ เล่ากันว่าจารวันหนึ่งได้มูลเหล็กจารเต็มกะลามะพร้าว ซึ่งหาใครเสมอเหมือนมิได้เลย นอกจากนี้ท่านได้ประพฤติปฏิบัติสมณธรรมอย่างจริงจัง โดยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำยางอุ้งจนจิตเป็นสมาธิได้ญาณสมาบัติอภินิหารเป็นอัจฉริยะ." ด้วยจริยวัตรของท่านจึงทำให้มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา ไปถึงเมืองเชียงตุง(พม่า) ต่อมาภายหลังเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตได้มาสร้างโบสถ์ และก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้มีสภาพสมบูรณ์โดยก่อนพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานได้ พระองค์ได้เคยรำพึงไว้ว่า "ธาตุให้ย่อยเพื่อให้คนทั้งหลายและพระอรหันต์ได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่บูชาเสมอเหมือนดังพระองค์ยังทรงมีพระชนอยู่ " เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 218 ปี มีกษัตริย์ชื่อศรีธรรมโศกราช ได้เกิดศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอยากจะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จำนวน 84,000 องค์ พระองค์จึงหาพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งพบที่เมืองราชคฤห์นครแล้วพระองค์ก็อัญเชิญมาสู่เมืองปาตรีบุตรนคร จากนั้นพระองค์ทรงแบ่งพระบรม
สารีริกธาตุให้ พระกุมารกัสสปะและพระเมมิยะเถระเจ้าทั้งสองจึงได้นำพระอัฐิบรรทุกหลังช้างมาจากประเทศอินเดีย เพื่อนำไปบรรจุไว้ที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง แต่เมื่อขบวนเดินทางถึงม่อนดินแห่งนี้(วัดไหล่หลวง)ขบวนช้างเชือกนั้นก็ไม่ยอมเดินทางต่อ องค์พระรหันต์ผู้เป็นประมุขของขบวนนั้นจึงตัดสินใจสร้างองค์พระเจดีย์องค์หนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์และได้อัญเชิญพระอัฐิของพระพุทธเจ้าบรรจุเอาไว้ด้วย โดยก่อพระเจดีย์สูง 4 ศอกพระอรหันต์ทั้งสองพระองค์ทรงทำนายพยากรณ์เอาไว้ว่า สถานที่แห่งนี้จะได้ชื่อตามเหตุการณ์ที่ผ่านมาว่า "วัดเสลารัตนปัพพตาร าม" (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) เพื่อให้สมกับที่เป็นมาของวัด แล้วพระอรหันต์ทั้งสองพระองค์ก็นำขบวนช้างไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ฉะนั้น ท่านผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบๆกันมาว่าวัดไหล่หินเป็นพี่ของวัดพระธาตุลำปางหลวงเพราะว่าพระบรมธาตุ นำมาบรรจุทีหลัง ต่อมา จ.ศ.1012 (พ.ศ.2193)สามเณรน้อยก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุเป็น "มหาเกสระ ปัญโญภิกขุ" และได้ตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำให้สร้างชื่อเสียงให้กับวัดไหล่หินหลวง ท่านพระมหาเกสระปัญโญ เป็นพระนักปฏิบัติ นักศึกษาศาสนธรรมคำสั่งสอนอันยืนยงปรากฏว่าท่านมีความรู้แตกฉานสามารถแต่งและเขียนธรรม (จาร) ได้วันละมาก เล่ากันว่าท่านเขียนอักขระพื้นเมืองเหนือลงในใบลานด้วยเหล็กจารวันหนึ่งๆได้มูลเหล็กจารเต็มกะลามะพร้าว (มะพร้าวเต่า) ซึ่งหาใครเสมอเหมือนมิได้เลย นอกจากนี้ท่านยังได้ประพฤติปฏิบัติสมณธรรมอย่างจริงจังโดยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำฮางอุ้ง(ถ้ำฮู้งคาว) จนจิตเป็นสมาธิได้มาณสมาบัติมีอภินิหารเป็นอัจฉริยะ ชาวบ้านล่ำลือว่าท่านสามารถหาะเบื้องบนหนอากาศได้ เลื่องลือว่าท่านไปบิณฑบาต ให้ศรัทธาสาธุชนถึงที่ไกลๆได้ เล่ากันว่าไปถึงวัดไทยใหญ่ แคว้นเชียงตุง(พม่า) ทุกวัน จนวันหนึ่งผู้ศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านได้ถามว่า "ท่านจำวัดใด" แล้วท่านพระมหาเกสระปัญโญ จึงตอบว่า "เจริญพร อาตมาอยู่วัดกัดไม่แตก(ขบไม่แตก)" เมื่อเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงรู้ จึงสั่งให้เสนาอำมาตย์ค้นหาวัดแต่ก็หาไม่เจอ จนอยู่มาวันหนึ่งเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงก็สั่งให้เสนาอำมาตย์เอ่มะ พร้าวลูกหนึ่งมา
ผ่ากะลาออกเป็นสองซีกแล้วให้เก็บรักษาเอาไว้ซีกหนึ่ง อีกซีกเอาไปใส่บาตรพระเถระเจ้า ขณะเมื่อมาบิณฑบาตในตอนเช้าพร้อมกับนมัสการว่า "ขออาราธนาพระคุณเจ้าฉันเนื้อมะพร้าวแล้วเก็บกะลาไว้ด้วย"ข้าพเจ้าจะได้ไปรับเอากะลาทีหลัง"จากนั้นเจ้าฟ้าเชียงตุงได้ออกตามหาวัดของพระเถระเจ้าและกะลามะพร้าว เป็นเวลา 7 เดือน ก็ได้มาพบที่วัดไหล่หินหลวงและระหว่างทางได้ผ่านดอยมันหมูมาจึงได้ตัดไม้มันหมูมาเป็นเสาพระวิหาร มีอยู่ตรงหน้าพระประธานทางทิศใต้ต้นที่หนึ่ง เดี๋ยวนี้ได้เอาปูนหล่อครอบเสาต้นนี้ ปรากฏว่าเมื่อฝนจะตกน้ำจะท่วมบ้านจะปรากฎว่ามีน้ำมันซึมออกมาให้เห็นเป็นข้อสังเกตเอาไว้นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดบ่งบอกว่าวัดไหล่หินก่อสร้างในปี พ.ศ. ใด แต่นักโบราณคดีชาวตะวันตก ดร.ฮันส์ เพนธ์ ได้พบคัมภีร์ใบลานเก่าแก่ที่สุดของวัด ระบุไว้ว่ามีการพูดถึงวัดนี้ตั้งแต่จุลศักราช 833 หรือ พ.ศ. 2014

สถาปัตยกรรมของวัดไหล่หินหลวง
สถาปัตยกรรมของวัดไหล่หินหลวงส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะล้านนา ซึ่งประกอบด้วย ลานกว้าง หรือข่วงใช้สำหรับทำกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งอยู่ด้านหน้าพระวิหารนอกกำแพงแก้ว ส่วนในเขตกำแพงแก้วจะมีวิหารโถง ศาลาบาตร ซุ้มประโตดขง อุโบสถ และลานทราย ส่วนหลังวิหารจะมีเจดีย์หนึ่งองค์ซึ่งเชื่อกันว่าบรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้า โดยสถาปัตยกรรมในวัดตรงนี้จะมีความคิดในเชิงการจำลองจักรวาล คือเปรียบวิหารเสมือนกับชมพูทวีป เจดีย์เปรียบกับเข้าพระสุเมรุ ส่วนลายทรายในเขตกำแพงแก้วก็เปรียบเป็นมหานทีสีทันดรศิลปะล้านนาแบบสกุลปรากฎชัดที่วัดไหล่หินคือในเขตพุทธาวาสจะก่อสร้างด้วยอาคารขนาดเล็กกะทัดรัด แต่เน้นความงดงามอาคารสร้างด้วยอิฐแล้วฉาบปูน ประดับลวดลายปูนปั้น มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

Project Gallery

bottom of page